Timeline เพลงประกอบภาพยนตร์
ยุคเงียบ THE SILENT ERA (1890s – 1929)
เริ่มตั้งแต่หนังของสองพี่น้อง The Lumiere brothers ในปี 1895 เป็นก้าวสำคัญของภาพยนตร์ แต่หนังในตอนนั้นเป็นเหมือนดูฉายภาพสไลด์ไม่ทำให้คนดูมีส่วนร่วมไปกับอารมณ์ของหนัง คนดูเลยคุยกันเสียงดังโฉงเฉงและไหนจะเสียงเครื่องฉายหนังที่มีขนาดใหญ่และเสียงดังแข่งกับคนดู เลยแก้ปัญหานี้ โดยใช้ live music จากวงออสตร้า เมื่อคนเงียบและเสียงเครื่องฉายถูกเสียงเพลงกลบ เพลงเลยกลายเป็นส่วนหนึ่งของหนังโดยปริยายและเพลงส่วนใหญ่ที่เล่นจะเป็นเพลงคลาสสิกจากนักประพันธ์เพลงฝั่งเยอรมันซึ่งเป็นต้นกำเนิดเพลงคลาสสิก เมื่อเทคโนโลยีหนังพัฒนาขึ้นเทคนิค Synchronized เข้ามามีส่วนสำคัญกับเสียงในฟิล์ม แน่นอนสิ่งที่ถูกลดบทบาทลงไปคือ live orchestra หนังมีชีวิตชีวาและเล่าเรื่องได้ดีขึ้นเพราะสามารถใส่เสียงเสียงเพลง ซาวด์เอ็ฟเฟกต์ และเสียงตัวละคร เข้าไปในกระบวนการโปรดักชั่นหนังได้เลย The Jazz Singer (1927) หนังที่คนดูได้ยินเสียงเพลงและเสียงพูดของตัวละครเป็นเรื่องแรก
The Jazz Singer
ยุคทองของแจ๊สและเพลงประกอบภาพยนตร์ (1930 – 1950s) คำว่า original score หมายถึงเพลงบรรเลงที่ถูกแต่งขึ้นเพื่อใช้ในภาพยนตร์ คนทำเพลง score หนังเกิดขึ้นมากมาย King Kong (1933) เป็นหนังเรื่องแรกที่แต่ง Score ภาพยนตร์ โดยใช้ Classical Scoring Technique และ Classical Scoring Technique คือยังไง ถ้าให้อธิบายง่ายๆ คือดนตรีที่แต่งขึ้นบรรเลงคลอไปกับหนัง (background music) ใช้บรรยายและแสดงความรู้สึกของตัวละคร
King Kong (1933)
เป็นครั้งแรกที่เพลงแจ๊สได้รับความนิยมอย่างมาก หนังหลายเรื่องใช้เพลงแจ๊สเป็นหลักในการเล่าเรื่อง แจ๊สยังถูกฮอลลิวูดใช้เป็นเครื่องมือกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของสถานที่หรือบุคคล (ส่วนใหญ่ในด้านลบ) ยกตัวอย่างย่าน New Orleans ต้นกำเนิดเพลงแจ๊สเป็นย่านเสื่อมศีลธรรม คนนอกรีต และนอกจากนั้นเพลงแจ๊สยังมีการแบ่งแจ๊สของคนขาว (white jazz) และแจ๊สของคนดำ (black jazz) อีกด้วย
A Street a named desire.
Spaghetti Westerns (1950s – 1960s) ที่เรียกยุคนี้ว่า Spaghetti Westerns เพราะหนังคาวบอย ยุคนี้เป็นผลงานจากผู้กำกับอิตาเลี่ยนเสียส่วนใหญ่ แต่ก็มีชาติยุโรปอย่างนอร์เวย์ เยอรมัน ประปรายบ้าง ผู้กำกับจากแดนมักกะโรนีที่โด่งดังในยุคนี้อาทิ Sergio Leone Michele Lupo Sergio Bergonzelli และคนทำเพลงหนังที่โด่งดังและมีสไตล์ชัดเจนคือ Ennio Morricone และ Maurice Jarre (Lawrence of Arabia)
The Good, the Bad and the Ugly Theme
Dissonant Scores
เมื่อรูปแบบ Classical Scoring Technique ไม่สามารถสร้างบรรยากาศและส่วนร่วมกับคนดูให้หนังบางประเภทได้ นักประพันธ์เพลงจึงเริ่มแหกกฏการแต่งเพลงใช้แนวทางแบบ Dissonant Scores คิดหาวิธีสร้างเสียงให้ได้ซาวด์แปลกจากการพลิกแพลงเครื่องดนตรีให้ได้เสียงที่ต้องการ ส่วนใหญ่จะปรากฎในหนังไซ-ไฟ หรือ หนังแนว avant-garde เสียเป็นส่วนใหญ่ อาทิหนัง Psycho (1960) Apocalypse Now (1979) แต่แนวทางการแต่งเพลงเพื่อใช้ในภาพยนตร์ยังคงเทคนิค Classical Scoring Technique เป็นแนวทางหลัก จุดเปลี่ยน และในช่วง 1960 – 1970 หนังเพลง (musical) เข้ามาในตลาดภาพยนตร์และได้รับความนิยมจากผู้ชมเป็นจำนวนมาก The Sound of Music (1965), Cabaret (1972), Rocky Horror Picture Show (1975)
จุดเริ่มต้นของเพลงประกอบภาพยนตร์ในยุคปัจจุบัน
1967 ความหลากหลายของหนังที่มีมากขึ้น แนวการทำเพลงหนังโดยใช้เพลง jazz หรือ classical score ไม่ลงตัวกับหนังบางประเภท จึงเริ่มซื้อลิขสิทธิ์เพลงป๊อปที่มีเนื้อหา ดนตรี จังหวะเข้ากับอารมณ์และบรรยากาศหนัง และที่สำคัญคือเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการโปรโมตหนังและสร้างรายได้จากการขายอัลบั้มเพลงประกอบหนัง The Graduate ได้รับความนิยมสูงมาก และอัลบั้มเพลงประกอบหนังที่มี Sound of silence Scarborough Fai และ Mrs. Robinson ของ Simon & Garfunkel ก็ได้รับความนิยมสูงมากเช่นกัน ส่งผลให้รายได้หนังประสบความสำเร็จทั้งหนังและยอดขายเพลงประกอบภาพยนตร์
Comments